KINESIO

BLOG

Kinesio Tape, Sports Tape and Physical
Therapy Tape Distributo

เทคนิค EDF กับอาการปวดร้าวบริเวณคอ (Whiplash) [EP.3]

เทคนิค EDF กับอาการปวดร้าวบริเวณคอ (Whiplash) [EP.3]

มาถึงเทคนิค EDF EP.3 เป็น EPสุดท้ายแล้ว หลังจากรู้คอนเซบ เทคนิค EDF คืออะไร ? จาก EP.1 และรู้วิธีตัดจาก เทคนิค EDF ตัดอย่างไร ? EP.2  …  บทความนี่ คือการติดเทป EDF เทคนิค กับ อาการปวดร้าว บริเวณคอ (Whiplash) ว่าต้องติดยังไง แรงตึงเท่าไหร่ ถ้าผู้อ่านทุกท่านพร้อมแล้ว คว้าเทป FP คว้า กรรไกรคมๆ  แล้วลองฝึก ติดตามกันดูได้เลยค่ะ

อาการปวดร้าวบริเวณคอ หรือ (Whiplash)  
อาการบาดเจ็บแบบ Whiplash มักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับอุบัติเหตุหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่บางครั้งก็อาจพบอาการผิดปกติหลังจากนั้น 2-3 วัน โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการต่อไปนี้
ปวดหรือตึงบริเวณคอ
ขยับคอได้ลำบาก และรู้สึกเจ็บมากขึ้นเมื่อขยับคอ
ปวดศีรษะโดยมักเริ่มที่บริเวณฐานของกะโหลก
เวียนศีรษะหรือบ้านหมุน
มองเห็นไม่ชัดเจน
รู้สึกเหนื่อยและอ่อนแรง

สาเหตุของ Whiplash Whiplash
เกิดขึ้นเมื่อศีรษะเกิดการบิดหรือสะบัดอย่างแรงไปในทิศทางหลังและหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการบาดเจ็บขณะคอแหงนเต็มที่ ส่งผลต่อกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ บริเวณคอ โดยส่วนมากมักเป็นผลมาจากการได้รับบาดเจ็บด้วยสาเหตุต่อไปนี้
1. อุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะการถูกชนท้ายรถ
2. การถูกทำร้ายร่างกายอย่างการถูกชกต่อย หรือการเขย่าแรง ๆ ที่มักพบในเด็กเล็ก (Shaken Baby Syndrome)
3. การเล่นกีฬาที่ใช้แรงปะทะ เช่น การใช้ศีรษะโหม่งลูกฟุตบอล การต่อยมวย การเล่นคาราเต้หรือกีฬาชนิดอื่น
4. การได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุอื่น เช่น ขี่ม้า ขี่จักรยาน ตกจากที่สูงจนทำให้ศีรษะกระแทกและเหวี่ยงไปด้านหลัง หรือถูกกระแทกจากวัตถุที่มีน้ำหนักมาก เป็นต้น

การรักษาอาการปวดร้าวบริเวณคอ ด้วยเทปคิเนซิโอเทคนิค  EDF
การติดเทคนิค EDF เป็นการติด ที่ใช้แรงตึงน้อยมาก ประมาณ 5% โดยมีรูปแบบการตัดที่นิยม เป็นแบบ web cut ซึ่งการติดจะเป็นแบบการติดเพื่อยกให้ส่วนของเทปทั้งหมด กว้างครอบคลุมบริเวณที่ปวด ลดการปวด บวม ฟกช้ำ ได้ดี ซึ่งทิศทางการติด แรงตึงที่ใช้มีความสำคัญมากในเทคนิคนี้

วิธีการติดเทป EDF เทคนิค กับอาการปวดร้าว บริเวณคอ (Whiplash)
1. เปิดเทปด้านหนึ่งออกมาก่อน
2. ติดเทปจากล่างขึ้นบน
3. ยืดผิวหนังบริเวณที่จะติดเทป
4. ใช้แรงตึงน้อยประมาณ 5%
5. ดึงเทปครอบคลุมบริเวณที่มีอาการ
6. กดปลายเทปให้แนบสนิท
7. สามารถติดทับซ้อนกันได้ 3-4 ชิ้น

รับชมเพิ่มเติมได้ที่ >>Youtube Kinesio Thailand : https://www.youtube.com/watch?v=V1hz2aPP0AI

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Facebook inbox : kinesio thailand
line id : @kinesiothai

ติดต่อสอบถาม คอร์สเรียนติดเทปบำบัด Kinesio Tape ได้ที่..
Facebook : KinesioThailand
Phone : 081-750-1824
Line : @kinesiothai

ความรู้ที่น่าสนใจอื่นๆ

Copyright 2024 Marathon (Thailand) Co., Ltd. | All Rights Reserved

สอบถามเพิ่มเติม